ประวัติ คณะศิลปวิจิตร
คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ เป็นสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงวัฒนธรรมมีหน้าที่จัดการศึกษาและส่งเสริมวิชาการในระดับอุดมศึกษาด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ ทั้งไทย และสากล รวมทั้งศิลปวัฒนธรรมระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ทำการจัดการเรียนการสอน การนำเสนอแสดงผลงานทางด้านศิลปะ งานวิจัย ให้บริการทางวิชาการ ตลอดจนส่งเสริม สืบสาน สร้างสรรค์ ทำนุบำรุง เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ของชาติและศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายของชุมชนในท้องถิ่น ดังนั้น คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ได้เห็นความสำคัญกับคุณภาพและการพัฒนามาตรฐานการศึกษาให้เป็นที่ยอมรับมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ พ.ศ. 2541 และประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 เริ่มจัดการเรียนการสอนวันที่ 4 มิถุนายน 2552 ในระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) 2 ปี ให้แก่ผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงจากวิทยาลัยช่างศิลป ต่อมาคณะได้เปิดหลักสูตรศิลปบัณฑิต 4 ปี โดยเปิดรับนักศึกษาจากที่ต่างๆ โดยการสอบตรงในปี 2547 ประกอบด้วยภาควิชาในสังกัด 3 ภาควิชา คือ ภาควิชาศิลปไทย ภาควิชาศิลปกรรม และภาควิชาออกแบบ
ปรัชญา (Philosophy)
ผู้มีปัญญา มีวัฒนธรรม พึงรักษ์ ต่อยอด ทัศนศิลป์และการออกแบบของชาติ
ปณิธาน (Resolution)
ต่อเนื่อง รักษา พัฒนา สร้างคนทัศนศิลป์และการออกแบบ
วิสัยทัศน์ (Vision)
สถานศึกษาแห่งการบ่มเพาะนวัตกรรมทางด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ จากรากเหง้า รักษา ต่อยอด สร้างสรรค์ ยกระดับเพื่อเป็นกำลังเสริมให้ทางสถาบัน กระทรวงและชาติ
พันธกิจ (Missions)
1. จัดการศึกษาด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ ในระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับระดับชาติและนานาชาติ
2. สร้างงานวิจัย งานสร้างสรรค์ นวัตกรรมที่เป็นองค์ความรู้ด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ อย่างมีคุณค่าแก่สังคม
3. บริการวิชาการด้านทัศนศิลป์และการออกแบบ แก่สถานศึกษา ชุมชน และสังคม
4. อนุรักษ์ พัฒนา สืบสาน และเผยแพร่ทัศนศิลป์และการออกแบบสู่ประชาคมอาเซียนและนานาชาติ
5. จัดแสดงงานทัศนศิลป์และการออกแบบ เพื่อเทิดทูลสถาบันหลักของชาติ
6. พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาล
การจัดการศึกษา
คณะศิลปวิจิตรเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี 2 วิชา ดังนี้
1. สาขาวิชาทัศนศิลป์ ประกอบไปด้วย 5 วิชาเอก
1.1 วิชาเอกศิลปไทย
1.2 วิชาเอกจิตรกรรม
1.3 วิชาเอกประติมากรรม
1.4 วิชาเอกภาพพิมพ์
1.5 วิชาเอกเครื่องเคลือบดินเผา
2. สาขาวิชาออกแบบตกแต่งภายใน
3. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิกและสื่อสร้างสรรค์
ระดับปริญญาโท ศิลปมหาบัณฑิต มี 1 สาขา
